วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัฒกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนวัตกรรม


ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ วิธีการก็ได้ ในโรงเรียนทั่วไปได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ในงานวิจัยได้นำเอานวัตกรรมไปทดลองใช้ในชั้นเรียน และพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ จึงทำการเผยแพร่และใช้ในวงกว้างต่อมา เช่น ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ ภาพ และรูปแบบการสอนต่างๆ
แนวคิดหลักของเทคโนโลยี
           1.  กิจกรรมเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา  หรือสนองความต้องการของมนุษย์
           2.  เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  ธรรมชาติสร้างต้นไม้ พืช สัตว์ แม่น้ำ มหาสมุทร ภูเขา 
                ส่วนมนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถยนต์ เตารีด ตู้เย็น โทรศัทพ์ ฯลฯ
           3.  เทคโนโลยีสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น (better) เร็วขึ้น (faster) และ  ค่าใช้จ่ายถูกลง(cheaper)
           4.  มนุษย์ใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และทรัพยากรในรูปต่าง ๆ เช่น วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักร ข้อมูล ฯลฯ  ในการสร้างเทคโนโลยี
           5.  เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมีผลกระทบต่อสังคม การนำเทคโนโลยีไปใช้ มีทั้งคุณและโทษ ต่อสังคม ถ้าเลือกผิดและใช้ไม่เหมาะสมอาจเป็นโทษได้
หลักการสารสนเทศ คือ การศึกษาแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ความสำคัญของระบบสารสนเทศต่อธุรกิจ และศึกษาองค์ประกอบของเทคโนโลยี สารสนเทศ เนื้อหาวิชาประกอบด้วย บทบาทของระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ในองค์กร บทบาท หน้าที่และความสำคัญขององค์ประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์หลักการจัดการข้อมูล หลักตรรกะในการเขียนชุดคำสั่ง การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปขั้นพื้นฐาน และการสื่อสารข้อมูล
ทฤษฎีสารสนเทศ (อังกฤษ: information theory) เป็นสาขาหนึ่งใน ทฤษฎีความน่าจะเป็น และคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขอบข่ายเนื้อหาของทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ, เอนโทรปีของสารสนเทศ, ระบบการสื่อสาร, การส่งข้อมูล, ทฤษฎีอัตราการบิดเบือน, วิทยาการเข้ารหัสลับ, สัดส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน, การบีบอัดข้อมูล, การแก้ความผิดพลาด และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง